สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล
ค้นหา
ค้นหา
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ภารกิจ/อำนาจหน้าที่
จรรยาบรรณ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างบุคลากร
ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
คำรับรอง และรายงานผลการปฏิบัติราชการ
คลังความรู้
หน่วยงานกรมประชาสัมพันธ์
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประจำวัน
ประกาศรับสมัครงาน
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
มาตรการโควิด-19 สตูล
กิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรมของหน่วยงาน
ข่าวสารกิจกรรมของหน่วยงาน
สกู๊ป & คลิปวิดีโอ
ห้องแสดงภาพ
บริการ
ข้อมูลการบริการของหน่วยงาน
บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
จังหวัดสตูล
อินทราเน็ต
ติดต่อเรา
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
เรื่องดีๆที่บ้านฉัน_ที่นี่สตูล_ที่นี่ชายแดนใต้
เรื่องดีๆที่บ้านฉัน_ที่นี่สตูล_ที่นี่ชายแดนใต้
13/01/2565 |
228
|
#เรื่องดีๆที่บ้านฉัน_ที่นี่สตูล_ที่นี่ชายแดนใต้
เต่าตนุ ที่ทะเลสตูล... เต่าตนุ หรือเต่าแสงอาทิตย์ เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ พบมากที่อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล และน่านน้ำไทยทั้งอ่าวไทย และอันดามันอีกหลายจังหวัด มักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้น
เต่าตนุ มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้งสี่แบนเป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล
เต่าชนิดนี้เป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวกหญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป
เต่าตนุโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4–7 ปี เชื่อกันว่าอายุยืนถึง 80 ปี[4] ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทย และอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70–150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด
จังหวัดสตูล จัดให้มีการปล่อยเต่าทะเล(ตนุ) มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2557 ครั้งที่ 2 ปี 2563 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2564 ภายใต้โครงการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา หรือโครงการ"นีโม่คืนถิ่น" ณ ชายหาดเกาะอาดัง เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ชุมชนบนเกาะหลีเป๊ะและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลสู่ลูกหลานสืบไป
.............
#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล
รูปภาพ
คะแนนโหวต :
ให้คะแนน