กรรมการสิทธิมนุษยชนติดตามปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวมานิในพื้นที่สตูล
กรรมการสิทธิมนุษยชนติดตามปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวมานิในพื้นที่สตูล
....................................
วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ร่วมเป็นประธานการประชุมหารือเพื่อรับฟังข้อเท็จจริง จากหน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์มันนิและผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ศาลากลางจังหวัดสตูล เพื่อรับฟังข้อเท็จจริง หลังจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดสตูล ในเรื่องคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติตามวิถีดั้งเดิมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
สำหรับกลุ่มชาติพันธ์มานิของจังหวัดสตูล อาศัยอยู่เป็นกลุ่มประมาณ 200 คน อยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอคืออำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอมะนัง ใช้นามสกุลศรีมะนัง และรักษ์ละงู ส่วนใหญ่ได้มีบัตรประจำตัวประชาชนเกือบทุกคนแล้ว และได้สิทธิในการรักษาพยาบาลและสิทธิอื่นๆที่รัฐจัดให้ด้วย โดยวิถีชีวิตปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้างแต่ยังคงมีความสัมพันธ์อยู่กับป่า มีการสร้างทับที่อยู่อาศัยในป่า มีการเดินทางเร่ร่อนไปตามป่าเขตเทือกเขารอยต่อจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูลและสงขลา
นางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า จากการรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้เกี่ยวข้องในวันนี้ทราบว่า ทางจังหวัดสตูลได้มีการดูแลสิทธิขึ้นพื้นฐานของกลุ่มพี่น้องมันนิ ตั้งแต่เรื่องการทำบัตรประจำตัวประชาชน การรักษาพยาบาล การศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิต และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนประเด็นที่ได้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยที่เป็นปัญหาหลักของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิที่สตูลในวันนี้ คือเรื่องความมั่นของการอยู่อาศัย เรื่องที่ดินทำกิน การที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเกี่ยวข้องกับนโยบายและกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายอุทยานฯ แนวทางของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนวันนี้ ก็มีแนวทางในการแก้ปัญหาในระดับเบื้องต้นก่อน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลรอบด้านแล้วก็จะทำข้อเสนอในระดับนโยบาย เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนเรื่องกฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแนวทางที่หารือกันคือจะเสนอให้ทางจังหวัดสตูลทำนำร่องเกี่ยวกับพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัย เพื่อขยายผลในพื้นที่จังหวัดอื่นๆคือจังหวัดตรัง และพัทลุงต่อไปด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากลงพื้นที่ในวันนี้แล้วทางเจ้าหน้าที่กรรมการสิทธิฯก็จะรวบรวมข้อมูล รายงานผลการตรวจสอบ ซึ่งจะมีประเด็นในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะต้องเสนอให้สอดคล้องกับสิทธิเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกติกาสากลที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลได้ออกกฎหมาย ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ จะทำให้การแก้ไขเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีเกือบ 70 กลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 6-7 ล้านคนจะได้คลี่คลายปัญหาไปด้วย
------------------------------
ภาพ/ข่าว ส.ปชส.สตูล
11 พค.65

image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar