ครม.อนุมัติ เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 6 เดือน
ครม.อนุมัติ เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 6 เดือน
---------------------------
👏👏ครม.อนุมัติหลักการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเบี้ยยังชีพในปีงบประมาณ 2565 เฉลี่ยรายละ 100 - 250 บาท ตามช่วงอายุ จำนวน 10,896,444 ล้านคน วงเงินรวม 8,348.16 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบทางรายได้คิดเป็นร้อยละ 50.7 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และรายได้ของผู้สูงอายุที่มาจากการทำงานมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 40 เหลือเพียงร้อยละ 22 (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ)
.
📍📍การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุในครั้งนี้ จะจ่ายเพิ่มจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 ดังนี้
1. อายุ 60 -69 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 100 บ./เดือน รวมเป็น 700 บ./เดือน
2. อายุ 70 -79 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 700 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 150 บ./เดือน รวมเป็น 850 บ./เดือน
3. อายุ 80 -89 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 800 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 200 บ./เดือน รวมเป็น 1,000 บ./เดือน
4. อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 250 บาท/เดือน รวมเป็น 1,250บ./เดือน
.
📍📍หลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ📍📍
• บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออก โดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่าย
• ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
• สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้มีสิทธิ (สำหรับกรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)
• สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
.
📍📍คุณสมบัติ📍📍
• สัญชาติไทย
• อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป คือ เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2506 และยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน (สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
• ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงาน ของรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
• ไม่เป็นผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือ เงินอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน
o ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือ ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ
• ไม่ร่วมถึงผู้พิการหรือป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 หรือ ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี
.
📍📍เนื่องจากการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณถัดไป ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2564 และเดือนมกราคม - กันยายน 2565 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที แต่จะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 เป็นต้นไป คือช่วงเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ซึ่งผู้สูงอายุที่เกิดก่อนวันที่ 2 ตุลาคม 2505 แต่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน และเพิ่งมาลงทะเบียนครั้งแรกหลังอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
.
📍📍สถานที่ลงทะเบียน📍📍
• กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวัน - เวลาราชการ
• ต่างจังหวัด : สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
.
👏👏นอกจากนี้ ข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบสถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565 (ข้อมูลวันที่ 31 มกราคม 2565) จากจำนวนประชากรในประเทศไทยทั้งหมด 66,165,261 ล้านคน มีผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คาดการณ์ว่า ประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ.2565 และในปี พ.ศ. 2573 จะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ของประชากร ทั้งประเทศ
.
👏👏รัฐบาลมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมั่นคงและเป็นระบบ โดยมีมาตรการในการรับรอง อาทิ ม.40 บุคคลทั่วไป ที่ประกอบอาชีพหรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ยังรวมไปถึงการสนับสนุนการออมเงินตั้งแต่อายุ 15 – 60 ปี ซึ่งสามารถ ออมเงินได้ที่กองทุนการออมแห่งชาติ โดยส่งเงินออมสะสมต่อเนื่อง 50 – 13,200 บาท/ปี เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในชีวิต พร้อมรับเงินสมทบจากรัฐบาลตามช่วงอายุของสมาชิกอีกด้วย
#ประเด็นIOC
#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล

image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
Tag